ความเป็นมา

 นักบรรเลงดนตรีให้จังหวะประกอบการร่ายรำสิละ        

  (ที่มาภาพ:หน้า  8034 (สิละ). สารานุกรมวัฒนธรรมไทยภาคใต้   เล่มที่ 16)

  ซีละ เป็นกีฬาพื้นเมืองที่เก่าแก่ที่สุดชนิดหนึ่งที่เล่นกันแพร่หลายทั่วไปในภาคใต้ โดยเฉพาะจังหวัดที่อยู่ใกล้ชายแดนภาคใต้ เช่น สตูล ปัตตานี ยะลา นราธิวาสและสงขลา เป็นต้น ซีละมีชื่อเรียกที่แตกต่างกัน เช่น สิหลาด บือซีละ ซีละ ดีกา หรือ บือดีกา หรือศีลัท ก็มี ในพจนานุกรมภาษาถิ่นใต้ให้ความหมายว่า ซีละ หมายถึง การต่อสู้ดด้วยมืเปล่าแบบหนึ่งของชาวมลายูคล้ายมวย (วิทยาลัยครูสงขลา, ๒๕๑๔ : ๑๙๓) เล่ากันว่าซีละที่มีถิ่นกำเนิดที่เมืองเมกกะในอาหรับสมัยก่อน เมื่อประมาณ 400 ปีมาแล้ว โดยชาวอาหรับชื่อไซลินนา อุเล็น ซึ่งเป็นทหารเอกของนาบีมูหะหมัด อันเป็นเจ้าลัทธิศาสนาอิสลาม เป็นผู้คิดค้นการต่อสู้ด้วยมือเปล่าขึ้นเพื่อฝึกไว้ใช้ในสงคราม ต่อมาจึงมีการใช้ควบคู่อาวุธ เช่น กริซและกระบี่ เมื่อวิทยาการด้านยุทโธปกรณ์เจริญขึ้น ซีละจึงกลายเป็นศิลปะการป้องกันตัวแทน สันนิษฐานว่าการเล่นซีละคงจะมีมากกว่า 100 ปีมาแล้ว ส่วนใหญ่จะเล่นกันในหมู่ชาวไทยมุสลิมทั้งชายและหญิง มักจัดให้มีการเล่นกันในงานเข้าสุนัต งานแต่งงาน งานเทศกาลต่างๆ ซีละมีอยู่ 2 ประเภท คือ ประเภทใช้อาวุธหรือกริช และไม่ใช้อาวุธต่อสู้ด้วยมือเปล่า (สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ, ๒๕๒๓ : ๑๓)ที่นิยมเล่น คือ ประเภทไม่ใช้อาวุธ ในปัจจุบันยังมีการเล่นอยู่ทั่วไป

ที่มา : การละเล่นพื้นบ้าน.[ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก http://www.prapayneethai.com/th/amusement/south/view.asp?id=0787 .สืบค้นวันที่ 28 มกราคม 2556.

 

งานเทคโนโลยีทางการศึกษา สำนักการเรียนรู้คุณหญิงหลง อรรถกระวีสุนทร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์